เมื่อ Apple ออก OS version ใหม่ เราก็ต้องมาหาวิธีทำให้มัน เขียนไฟล์ลงใน drive NTFS กันอีกครา
ในโพสนี้เราก็จะมาทำให้ macOS Sierra มันเขียน drive ที่ format เป็น NTFS ซึ่งใช้กับ Window OS เป็นหลัก วิธีที่เคยใช้กับ Yosimite หรือ El Capitan ใช้ไม่ได้กับ Sierra นะ
วิธีสำหรับ Sierra จะว่าง่ายก็ง่าย (ถ้าผู้อ่านเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็คิดว่าไม่น่าจะยาก) แต่จะว่ายากก็ไม่เชิง ถ้าทำตามที่บอกเป๊ะๆ ก็ควรจะทำได้สำเร็จเช่นกัน ;)
เกริ่นย่อหน้าสุดท้ายก่อนลุย วิธีทำให้เขียน drive NTFS นี้เป็น solution แบบฟรี อาจจะเขียนช้า (กล่าวคือ เวลาที่ใช้ในการ copy ไฟล์จาก Mac มาลง อาจจะช้ากว่า เวลาที่ใช้ Windows copy ไฟล์มาใส่ drive เดียวกันนี้) หากท่านใดต้องการความเร็ว แนะนำให้ใช้ solution แบบเสียเงิน ลองดูของ Tuxera NTFS for Mac หรือ Paragon NTFS for Mac ครับ
TLDR; ถ้าเข้าใจตรงกันแล้ว ลุยกันเลย!
ติดตั้ง Homebrew
เปิด Terminal app ขึ้นมาก่อน
พิมพ์คำสั่งนี้ หรือจะ copy ไปใส่แล้ว enter ก็ได้ เวลา copy คำสั่ง ไม่ต้องเอาตัว $
ไปด้วยนะครับแสดงให้เห็นเฉยๆ ว่าเป็นคำสั่งใน Terminal
$ /usr/bin/ruby -e "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/Homebrew/install/master/install)"
ควรจะเห็นหน้าจอแบบข้างล่างนี้
เมื่อเห็น Password:
ขึ้นมารอ เราจะต้องใส่ password ที่เราใช้ login เข้าเครื่องเราด้วย แล้วกด Enter
==> This script will install:
/usr/local/bin/brew
...
/usr/local/Homebrew
==> The following new directories will be created:
/usr/local/Cellar
/usr/local/Homebrew
...
Press RETURN to continue or any other key to abort
==> /usr/bin/sudo /bin/mkdir -p /usr/local/Cellar /usr/local/Homebrew /usr/local/Frameworks /usr/local/bin /usr/local/etc /usr/local/include /usr/local/lib /usr/local/opt /usr/local/sbin /usr/local/share /usr/local/share/zsh /usr/local/share/zsh/site-functions /usr/local/var
Password:
เมื่อใส่ password ถูกแล้ว กด Enter แล้ว หน้าจอก็จะไปต่อ ประมาณนี้
ถ้าเครื่องที่เรารันคำสั่งยังไม่ได้ติดตั้ง xcode command line tools script นี้มันก็จะติดตั้งให้ด้วยเลย
เราจะต้องใส่ password อีกครั้ง เมื่อหน้าจอแสดงบรรทัด
==> Installing Command Line Tools (macOS Sierra version 10.12) for Xcode-8.0 Copyright 2002-2015 Apple Inc.
...
Password:
...
==> Searching online for the Command Line Tools
==> /usr/bin/sudo /usr/bin/touch /tmp/.com.apple.dt.CommandLineTools.installondemand.in-progress
==> Installing Command Line Tools (macOS Sierra version 10.12) for Xcode-8.0
==> /usr/bin/sudo /usr/sbin/softwareupdate -i Command\ Line\ Tools\ (macOS\ Sierra\ version\ 10.12)\ for\ Xcode-8.0
Software Update Tool
Copyright 2002-2015 Apple Inc.
...
Password:
==> /usr/bin/sudo /usr/bin/xcode-select --switch /Library/Developer/CommandLineTools
เมื่อเห็น Run `brew help` to get started
==> Downloading and installing Homebrew...
...
==> Installation successful!
==> Next steps
Run `brew help` to get started
Further documentation: https://git.io/brew-docs
ให้พิมพ์คำสั่งนี้ต่อ เพื่อติดตั้ง Brew Cask
$ brew tap caskroom/cask
เสร็จแล้ว
ติดตั้ง osxfuse
**ขั้นตอนนี้หากใครเคยทำ NTFS ใน Yosimite หรือ El Capitan แล้วน่าจะมี osxfuse ติดตั้งกันอยู่แล้ว อาจจะใช้การ upgrade ผ่านทาง GUI ก็ได้นะ ข้ามขั้นตอนไปติดตั้ง ntfs-3g version ใหม่
กด Update OSXFUSE ได้เลย
จะต้องใส่ password, เดียวกับตอน login
เมื่อ update เสร็จ จะเห็นว่าเลขเวอร์ชันเป็น 3.5.2 ตามภาพ
ส่วนหากมาแบบสดใหม่ ไม่เคยลง osxfuse มาก่อนให้ทำตามนี้
โดยพิมพ์คำสั่ง brew cask install osxfuse
ก็ควรจะเห็นผลอย่างข้างล่าง
$ brew cask install osxfuse
==> Tapping caskroom/cask
...
You must reboot for the installation of osxfuse to take effect.
==> Downloading https://github.com/osxfuse/osxfuse/releases/download/osxfuse-3.5
######################################################################## 100.0%
==> Verifying checksum for Cask osxfuse
==> Running installer script /usr/sbin/installer
==> installer: Package name is FUSE for macOS
==> installer: choices changes file '/usr/local/Caskroom/osxfuse/3.5.2/Extras/Ch
==> installer: Installing at base path /
==> installer: The install was successful.
🍺 osxfuse was successfully installed!
ติดตั้ง ntfs-3g version ใหม่
$ brew install ntfs-3g
==> Tapping homebrew/fuse
...
==> Summary
🍺 /usr/local/Cellar/gettext/0.19.8.1: 1,934 files, 16.9M
==> Installing homebrew/fuse/ntfs-3g
==> Using the sandbox
==> Downloading https://tuxera.com/opensource/ntfs-3g_ntfsprogs-2016.2.22.tgz
######################################################################## 100.0%
==> ./configure --prefix=/usr/local/Cellar/ntfs-3g/2016.2.22 --exec-prefix=/usr/
==> make
==> make install
🍺 /usr/local/Cellar/ntfs-3g/2016.2.22: 90 files, 1.7M, built in 2 minutes 13 seconds
รอสักครู่ใหญ่ๆ เมื่อเห็นตามภาพข้างบนแล้ว ลองเอา drive NTFS มาเสียบดู ก็น่าจะใช้ได้แล้ว ทดสอบง่ายอาจจจะลอง New Folder ที่ drive ดูก็ได้ แต่ ช้าก่อน! หากปล่อยไว้เท่านี้ เวลาเรา reboot เครื่อง Mac เมื่อไหร่ มันจะกลับกลายเป็น Read only อีก
Enter recovery mode เพื่อทำให้ script รันอัตโนมัติ (reboot แล้วไม่หาย)
เคยเขียนเอาไว้แล้ว วิธีเข้า recovery mode
เมื่อเข้า recovery mode ได้แล้ว
- เปิด Terminal app
- สั่ง
csrutil disable
เพื่อปิด SIP ก่อน - สำรอง script
mount_ntfs
ที่ Apple มีมาให้ (script ที่ทำให้ drive NTFS เป็น mode อ่านอย่างเดียว หรือทั้งอ่านทั้งเขียนได้) /Volumes/850evo
แต่ละเครื่องจะไม่เหมือนกันนะ ให้ดูของเครื่องตัวเองให้ดี ส่วนมากน่าจะเป็น/Volumes/MacintoshHD
$ mv /Volumes/850evo/sbin/mount_ntfs /Volumes/850evo/sbin/mount_ntfs.orig
- สร้าง symbolic link ไปยัง script ที่ ntfs-3g ให้มา
$ ln -s /Volumes/850evo/usr/local/Cellar/ntfs-3g/2016.2.22/sbin/mount_ntfs /Volumes/850evo/sbin/mount_ntfs
ก่อนจะ restart เพื่อกลับเข้า mode ปกติ เราควรจะเปิด หรือ enable SIP กลับมาก่อน
โดยใช้คำสั่ง $ csrutil enable
แล้วก็ restart เพื่อกลับเข้า mode ปกติเรียบร้อย เท่านี้เอง Mac เราก็จะเขียน drive ที่เป็น NTFS ได้แล้ว :D
อ้างอิง osxfuse's Wiki
4 ความคิดเห็น :
ผมงงมากคับ อิอิ
ลองทำตามแล้วยังใช้ไม่ได้ค่ะ
แต่ที่งง อีกอย่างคือ ตอนเข้า Restore Mode มันไม่เห็น floder ที่บอกอ่ะค่ะ
ขอฝากเพิ่มเติมหน่อยครับ ตรง brew install homebrew/fuse/ntfs-3g ให้ใส่คำสั่งเป็น brew install ntfs-3g แทนนะครับ
แสดงความคิดเห็น