วันเสาร์, พฤษภาคม 14, 2559

มารู้จัก โนวลิ่ง (Knolling) ศิลปการจัดวางข้าวของอันน่าทึ่ง

มารู้จัก โนวลิ่ง (Knolling) ศิลปการจัดวางข้าวของอันน่าทึ่ง

poster

มันเนื่องมาจากเมื่อคืนก่อนเปิดไปเจอ รายการของ Adams Savage อดีตพิธีกรรายการชื่อดัง Myth Buster ทาง Discovery Channel เค้ามาต่อ LEGO custom made ชุดนึงซึ่งต้องใช้ชิ้นส่วนทั้งหมด 1300 กว่าชิ้น ซึ่งมันเยอะมาก

พิธีกรทั้งสองคนจึงพูดกันว่าขั้นตอนแรกจะต้องทำ”โนวลิ่ง”ก่อน !? คุณอดัมเค้าก็อธิบายคร่าวๆอยู่ เหมือนกัน แต่มันยังสงสัยอยู่ เลยต้องไปค้นต่อ...

tested screenshot

link to the show: Adam Savage's One Day Builds: LEGO Sisyphus Automata!

โนวลิ่ง (Knolling) คืออะไร อย่างไร

ตามสารานุกรม Wikipedia โนวลิ่งเป็นคำกริยา(verb) เป็นการจัดเรียงข้าวของต่างๆ อย่างเป็นแถวขนานกัน หรือเรียงกันในแนวตั้งฉาก (90 องศา)

คำศัพท์นี่มันเริ่มจากสมัยปี ค.ศ. 1987 โดย นายแอนดรูว โครเมโลว(Andrew Kromelow) ภารโรงร้านผ้าสำหรับเฟอร์นิเจอร์ของ แฟรงค์ เกอรี่(Frank Gehry). ในเวลานั้น เกอรี่กำลังออกแบบเก้าอี้ให้แบรนด์ Knoll อยู่ (เฟอร์นิเจอร์ของฟลอเรนซ์ โนว)

แอนดรูวจะจัดเรียงเครื่องไม้เครื่องมือให้ได้มุมที่เหมาะสมเรียงเป็นระนาบไป แล้วเรียกวิธีแบบนี้ว่า โนวลิ่ง เครื่องไม้เครื่องมือจะเรียงในมุมที่ถูกต้อง แบบเดียวกับเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งทำให้คนทำงานนั้นเห็นข้าวของต่างๆได้เพียงการมองครั้งเดียว

ต่อมาทอม ซาค(Tom Sachs) นักปฎิมากรรมใช้เวลาสองปีทำงานในร้านของเกอรี่ แล้วได้ประยุกต์วิธีจากแอนดรูว เครมโลวมาใช้ในการทำงานของเขา ทุกวันนี้วิธีโนวลิ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของซาค ถูกนำไปใช้ในสตูดิโอของเค้า ตั้งชื่อขั้นตอนว่า Always be Knolling หรือ ABK ซึ่งมีเนื่้อหาดังนี้

Sachs's image

ภาพจาก wikipedia [https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/fd/Ten_Bullets_II.jpg]

ในคู่มือของ ซาค -- ภาพด้านบนบอกว่า

  1. ให้ตรวจสอบเครื่องมือ, วัสดุ, หนังสือ, สิ่งของต่างๆ ว่าไม่ใช้อะไรบ้าง
  2. ให้เอาสิ่งของพวกนั้นไปไว้ที่อื่น ถ้าไม่แน่ใจก็ปล่อยเอาไว้ก่อน
  3. จัดกลุ่มสิ่งของที่คล้ายกันไว้ด้วยกัน
  4. จัดสิ่งของเรียงไปตามระนาบที่มันอยู่ หรือเรียงเป็นจตุรัส

ตอนนี้เราจะเห็นว่าวงการไหนๆ วงการอาหาร การโชว์ของใน backpack ฯ ก็เอาไปใช้ ภาพที่ถ่ายออกมาสวยงาม มีเอกลักษณ์ ลองตามไปดูกันได้ที่ลิ้งด้านล่าง

Imgur

ไม่มีความคิดเห็น :